ปัจจุบัน
คนไทยนิยมรับประทานปลาดิบกันมากขึ้น
โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารญี่ปุ่นด้วยรสชาดและน่าตาของ
อาหารที่ดูสะดุดตาชวนให้น่ารับประทาน
ทำให้แทบจะไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไม่เคยลิ้มลองอาหารจำพวกข้าวปั้น
ซูชิซาซิมิที่มีปลาดิบเป็นส่วนประกอบ
แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าในปลาดิบเป็นส่วนประกอบแต่ทราบหรือไม่ว่าปลาดิบนี้มี
พยาธิ...พิษภัยที่หลายคนคาดไม่ถึงดังนั้น
เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจึงขอนำเสนอ
บทความเรื่อง “สิ่งที่มากับ...ปลาดิบ” โดยมีรายละเอียดดังนี้
ปลาดิบ
ปลาดิบที่เรานำมาบริโภคนั้น มี 2ชนิดใหญ่ๆ คือ ปลาดิบน้ำจืด และปลาดิบน้ำเค็ม (ปลาดิบทะเล) ซึ่งปลาดิบทั้ง 2ชนิด
มีเชื้อโรคที่แอบแฝงมาแตกต่างกัน ปลาดิบน้ำจืดจะพยาธิบางชนิด
เช่นพยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ลำไส้ ฯลฯ สำหรับปลาดิบน้ำเค็มนั้น
คนส่วนมากมักคิดว่าไม่มีพยาธิแต่ความจริงแล้ว
ปลาน้ำเค็มอาจพบตัวอ่อนของพยาธิ อะนิซาคิส ซิมเพล็ก (Anisakis simplex) ซึ่งปลาดิบน้ำเค็มที่เรานำมาประกอบอาหารนั้นอาจมีการปนเปื้อนของพยาธิชนิดนี้
รู้จักพยาธิอะนิซาคิส ซิมเพล็ก
Anisakis simplex เป็นพยาธิที่พบในปลาทะเลเขตอบอุ่นและเขตร้อนในประเทศไทยตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในปลามากกว่า 20ชนิด
เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง
เป็นต้นส่วนในต่างประเทศจะพบในปลาจำพวก ปลาคอด ปลาแซลมอน
ปลาเฮอริ่งระยะตัวอ่อนที่ติดต่อสู่คนจะอยู่อวัยวะภายในช่องท้องของปลาทะเล
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขนาดยาวประมาณ 1-2ซม. กว้างประมาณ 0.3-0.5มม.
สีขาวใสมีลายตามขวางบริเวณส่วนปากจะมีหมานขนาดเล็กบริเวณปลายหางจะมัส่วน
แหลมยื่นออกมา
พยาธิชนิดนี้จะใช้ปากที่เป็นหนามขนาดเล็กบริเวณหัวในหารไชผ่านเนื้อเยื่อ
ต่างๆอีกทั้งยังสามารถคงทนต่อน้ำ เกลือ และแอลกอฮอล์ได้เป็นอย่างดี
อาการผิดปกติ
เนื่องจากพยาธิชนิดนี้ขณะเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อสู่คนบริเวณปากของพยาธิจะมี
หนามขนาดล็กขณะเคลื่อนที่จะไชในกระเพาะอาหารและลำไส้ของคน
ทำให้เกิดแผลขนาดเล็กและอาจทำให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารได้
ส่งผลให้ผู้ที่มีพยาธิชนิดนี้ในกระเพาะอาหารและลำไส้
มีอาการปวดท้องแน่นท้อง คลื่นไส้
ท้องอืดอาการมักไม่เฉพาะเจาะจงคล้ายกับอาการของโรคกระเพาะบางรายอาจท้องเสีย
หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือดถ้ามีแผลในกระเพาะขนาดใหญ่อาการมักจะเริ่มเกิดขึ้น
หลังรับประทานอาหารที่มีพยาธิชนิดนี้เป็นชั่วโมงหรืออาจเป็นวันก็ได้
และถ้าหากพยาธิชนิดนี้ฝังตัวอยู่ในทางเดินอาหารนานๆจะทำให้เกิดลักษณะของ
ก้อนทูมขึ้นในทางเดินอาหารได้ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายต่อพยาธิ
การวินิจฉัยและการรักษา
การวินิจฉัยโรคอาศัยประวัติการับประทานปลาดิบทะเลร่วมกับอาการผิดปกติที่
กล่าวข้างต้นและยืนยันการวินิจฉัยและการรักษาโดยการส่องกล้องตรวจกระเพาะ
อาหารหากพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้
แพทย์จะใช้กล้องส่องทางเดินอาหารคีบตัวพยาธิออก
เนื่องจากพยาธิชนิดนี้ไม่สามารถตรวจพบได้ในอุจจาระ
มันจะเกาะติดแน่นกับกระเพาะอาหารลำไส้และระยะที่พบในทางเดินอาหารนั้นเป็น
ระยะตัวอ่อนซึ่งไม่ออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้รักษาพยาธิชนิดนี้
แต่จากการศึกษาในประเทศญี่ปุ่นโดยหัวหน้าทีมวิจัย โตะชิโอะ ลิยามา พบว่า
วาซาบิมีฤทธิ์ในการฆ่าพยาธิชนิดนี้ได้ แต่รายละเอียด
ขนาดและปริมาณการใช้วาซาบิเพื่อฆ่าพยาธิ ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษา
รับประทานปลาดิบอย่างไรไม่เป็นพยาธิ
ก่อนอื่นต้องแน่ใจว่าปลาดิบที่นำมาทำอาหารนั้นเป็นปลาทะเลเพราะบางครั้งผู้
ที่รู้เท่าไม่ถึงการนำปลาน้ำจืดหลายชนิดมาทำอาหารทำใก้เกิดโรคพยาธิตัว
จี๊ด พยาธิใบไม้ในตับ
หรือพยาธิใบไม้ลำไส้ซึ่งมีความรุนแรงเช่นเดียวกับการติดโรคพยาธิอะนิซาคิส
ซิมเพล็ก
การแช่แข็งที่อุณหภูมิ -35องศาเซลเซียส อย่างน้อย 12ชั่วโมง หรือตำกว่า -20องศาเซลเซียส อย่างน้อย 7วัน หรือผ่านความร้อนมากว่า 60องศาเซลเซียส อย่างน้อย 5นาที ก่อนการประกอบอาหารจะทำให้พยาธิชนิดนี้ตายได้
นอกจากพยาธิบางชนิดที่พบในปลาดิบแล้วยังพบแบคทีเรียบางชนิด
และเชื้อไวรัสตับอักเสบเอในอาหารดิบด้วยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขอนามัยและความ
สะอาดของขั้นตอนการเตรียมอาหารดังนั้นถ้าคิดจะรับประทานปลาดิบ
ควรดูให้แน่ใจว่าขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดถูกอนามัยหรือไม่เพื่อให้เกิด
ความมั่นใจและเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อหลายชนิดจากปลาดิบ
ขอบคุณข้อมูลจากจุลสารก๊าซไลน์
โดย พญ.พัชรพร เตชะสินธุ์ธนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น