ศูนย์ข่าวขอนแก่น -
จังหวัดขอนแก่นแถลงผลงาน พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ปี 54
พบปัญหายาเสพติดมีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งการระบาด การค้า
เผยยาเสพติดส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เฝ้าระวังยาบ้า กัญชา
และยาไอซ์ ห่วงกลุ่มผู้ว่างงาน เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน เป็นทาสยาเสพติดสูงขึ้น
ชี้นำแนวทางป้องกันตามโครงการ To Be Number 1
สกัดกั้นเยาวชนคนดีไม่ให้เกี่ยวข้องยาเสพติด
วันนี้
(19 ม.ค.55) ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดขอนแก่น
จัดแถลงข่าว การรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดปี 2554 โดยนายสมบัติ
ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธาน
โดยนำเสนอผลงานศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดขอนแก่น
(ศพส.จ.ขอนแก่น) ปีงบประมาณ 2555
มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมแถลงข่าว ณ ห้องภูผาม่าน
โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
นายสมบัติ
ตรีวัฒน์สุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน มีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งด้านการค้า
การแพร่ระบาด ตัวยาสำคัญคือ ยาบ้า กัญชา สารระเหย
และมีแนวโน้มแพร่ระบาดของยาไอซ์ ยาเสพติดส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
ซึ่งกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ คนว่างงาน ผู้มีอาชีพรับจ้าง เกษตรกร
เยาวชนทั้งนอกและในสถานศึกษา อายุระหว่าง 18-24 ปี
ทั้งนี้ มีนักค้ารายย่อยรายใหม่ที่ผันตัวเองจากผู้เสพมาทำการค้าเพื่อเสพ
โดยรับผลต่างของรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายแต่ละครั้ง และได้ยาเสพฟรี
นักค้ารายย่อยในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ว่างงาน เยาวชน
นอกจากนี้ยังมีนักค้ารายย่อยนอกพื้นที่ จากภาคเหนือ ภาคกลาง
และนักค้าภายนอกประเทศเข้ามาติดต่อซื้อขายยาเสพติดในพื้นที่
พฤติการณ์การซื้อขายยาเสพติด
จะติดต่อซื้อขายและหาลูกค้าจากกลุ่มผู้เสพด้วยกัน
ขยายการค้าสร้างเครือข่ายในกลุ่มเพื่อนหรือคนรู้จัก
และมีส่วนลดในการซื้อครั้งต่อไป สถานที่ซื้อขายส่วนมากจะใช้หอพัก
อพาร์ทเม้นต์ ที่ยากต่อการเข้าถึงของเจ้าหน้าที่ โดยราคายาเสพติด
ยาบ้าจะมีราคาขายปลีกถึงเม็ดละ 350-600 บาท
ยาเสพติดที่ต้องเฝ้าระวังคือ ยาบ้า กัญชา สารระเหย และยาไอซ์
โดยกลุ่มบุคคลที่เฝ้าระวังคือ กลุ่มผู้ว่างงาน กลุ่มเยาวชน นักเรียน
นักศึกษา และเครือข่ายนักค้ารายเก่า โดยพื้นที่เฝ้าระวังคือ
อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชุมแพ อำเภอน้ำพอง อำเภอกระนวน
และอำเภอพล และจากสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันที่ค่าครองชีพสูงขึ้น
ส่งผลให้เกิดความเครียดหันไปพึ่งยาเสพติด ทั้งการติดต่อสื่อสาร
การคมนาคมที่สะดวก ทำให้การซื้อขายยาเสพติดสะดวกขึ้นเช่นกัน
ด้านนายอดุลย์ ประยูรสิทธิ์ ตัวแทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาค 4 ระบุว่า ปัจจุบัน
สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในพื้นที่ภาคอีสานเพิ่มสูงขึ้น
กลุ่มผู้เสพส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา กลุ่มผู้ใช้แรงงาน
และกลุ่มนักการพนัน
เนื่องจากนักค้ารายย่อยและกลุ่มผู้เสพเหล่านี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น
ทำให้การชักจูงเพื่อหาลูกค้าเข้าสู่กลุ่มเสพยาเสพติดมีการขยายตัวเพิ่มมาก
ขึ้น
ประกอบกับปัญหาที่พบมากในพื้นที่คือ
ผู้เสพที่เข้ารับการรักษาบำบัดแล้วหวนกลับมาเสพยาเสพติดซ้ำอีกและได้ขยาย
เครือข่ายเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้เสพรายใหม่ เช่นกลุ่มเยาวชน
ที่ขยายเครือข่ายในกลุ่มเพื่อนหรือรู้จักกันเมื่อเข้าสู่ระบการบำบัดหรือ
ฟื้นฟูฯ ขณะที่กลุ่มผู้เสพรายเก่าก็จะผันตัวเป็นนักค้ารายย่อย
พัฒนาไปรับจ้างขนลำเลียงและร่วมขบวนการค้ากับเครือข่ายนักค้ารายใหญ่ทั้งใน
และนอกประเทศ
ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่ภาคอีสานตอนบนมีการเคลื่อนไหวบ่อยครั้งของกลุ่มขบวน
การค้ายาเสพติดรายใหญ่ๆ
โดยกลุ่มดังกล่าวจะติดต่อกับกลุ่มนักค้านอกประเทศเพื่อสั่งซื้อยาเสพติด
ปริมาณครั้งละมากๆ เช่นยาบ้าปริมาณเกิน 100,000 เม็ดขึ้นไป
“สำหรับ
เครือข่ายการค้ากัญชาแห้งเองก็ยังเป็นกลุ่มเครือข่ายเดิมที่มีการค้ากัน
อย่างต่อเนื่อง
ซึ่งกลุ่มเครือข่ายการค้ายาเสพติดเหล่านี้มีผลกำไรมหาศาลในการค้ายาเสพติด
ทำให้มีการขยายเครือข่ายได้กว้างขวางและเชื่อมโยงกันในระหว่างภูมิภาคต่างๆ
มากขึ้น”นายอดุลย์กล่าว
ขณะเดียวกันผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
กล่าวถึงผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด
จังหวัดขอนแก่นได้ดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้
การปฏิบัติตามแผนแม้ว่าจะประสบผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้
แต่ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในจ.ขอนแก่น
ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นและมียาเสพติดตัวใหม่
โดยจังหวัดขอนแก่นได้เพิ่มความเข้มข้นนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ทุกระดับ
สกัดเครือข่ายนักค้า จัดระเบียบสังคม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง
พร้อมนำการป้องกันรักษาเยาวชนคนดีไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด นำโครงการ
To Be Number One มารณรงค์และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ขยายพื้นที่และจัดให้มีชมรมทุกประเภท เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชน
“เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” และพร้อมเปิดใจ “ใตรติดยายกมือขึ้น”
ตามพระปณิธานของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
ทั้ง
ได้ส่งเสริมให้หมู่บ้านชุมชนมีความเข้มแข็งร่วมมือกันแก้ไขปัญหายาเสพติด
และปัญหาอื่นได้
โดยการจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดทุกหมู่บ้าน/ชุมชน
(ศพส.ม/ข) รวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือจาก ภาคประชาสังคม
และกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันร่วมแก้ไขปัญหายาเสพติด
ควบคู่กับภาคราชการต่อไป
ที่มา หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น