เมื่อไม่นานมานี้ หอการค้าจังหวัดขอนแก่น ร่วมกับหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน โดยการสนับสนุนของจังหวัดขอนแก่น จัดเสวนาเรื่อง “ขอนแก่นมุ่งสู่.. เมืองมหานคร” ที่ห้องศรีจันทร์ 2 โรงแรมเจริญธานีขอนแก่น
โดย
มี นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เป็นประธานพิธีเปิดการเสวนา
ร่วมด้วย นายภูมิ สาระผล รมช. พาณิชย์, นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร ส.ส.
ขอนแก่น เขต 1, นายนวัธ เตาะเจริญสุข ส.ส.ขอนแก่น เขต 7 นายประเสริฐ
ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น, นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผวจ.ขอนแก่น,
นายพีระพล พัฒนพีระเดช นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น, รศ.ดร.กิตติชัย
ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น, นายประยูร อังสนันท์
ประธานสภาโรงเรียน ฮั่วเคี้ยววิทยาลัย, นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย
รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ขอนแก่น, นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ ประธาน
หอการค้าฯ
นอกจากนี้ ยังมีกรรมการกิตติมศักดิ์
และกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น, ผู้นำ 21 องค์กรจีน ผู้นำภาคเอกชน
นักธุรกิจ และนักวิชาการคณะทำงาน ผู้ทรงคุณวุฒิหอการค้าฯ
ร่วมเสวนาจำนวนประมาณ 300 คน
โอกาสนี้ได้มีการมอบดอกไม้ร่วมแสดงความยินดีกับ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ประธานรัฐสภา และ ส.ส., ส.ว.ขอนแก่น ที่ได้รับตำแหน่งสำคัญ ดังกล่าว
เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2555 ที่ผ่านมา
บูมนิคมอุตสาหกรรมขอนแก่น
นาย
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา กล่าวปาฐกถาในงานเสวนา
“ขอนแก่นมุ่งสู่..เมืองมหานคร” ว่า นับเป็นความร่วมมือที่ดีของภาคเอกชน
ราชการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาคการเมือง ท้องถิ่นของจังหวัดขอนแก่น
ที่จะผลักดันจังหวัดให้เป็นเมืองมหานคร
โดยมีการร่วมมือกันจัดทำแผนพัฒนาเมืองและการ แก้ไขปัญหาต่างๆ ร่วมกัน
เพื่อรองรับการ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ เออีซี ที่จะมาถึงในปี 2558
อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่ง
ที่ยังขาดคือการขาดการประสานกับนักการเมืองระดับชาติ
ซึ่งตรงนี้หากจะทำงานแบบบูรณาการที่สมบูรณ์ จะต้องประสาน
กับนักการเมืองในระดับชาติด้วย
“ผมขอสนับสนุนการที่จะพัฒนา
จังหวัดขอนแก่นให้ก้าวไปสู่การเป็นเมืองมหานคร
ซึ่งการที่จะเป็นมหานครได้นั้น ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม และสนามบินนานาชาติ
เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนา ไปสู่เมืองมหานคร
แต่เนื่องจากจังหวัดขอนแก่นไม่ได้มีพื้นที่ติดกับทะเล การที่จะ
มีท่าเรือได้ก็คือการที่เราจะต้องมีท่าเรือบนบก นั่นคือ ICD นั่นเอง
และนิคมอุตสาหกรรม
เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่จังหวัดเป็นอย่างดี
โดยหลังจากที่ได้มีน้ำท่วมในจังหวัดภาคกลาง บริษัทต่างๆ
ก็เริ่มที่จะมีแนวคิดที่จะขยับขยายย้ายโรงงานของเขาเองมาอยู่ในภาค อีสาน
ซึ่งหากจังหวัดของเราสามารถตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ได้ ก็นับว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะผลักดันให้จังหวัดมีการเจริญเติบโต
โดยให้มีท่าเรือ บก หรือ ICD
อันเป็นปัจจัยหลักที่จะสนับสนุนให้โรงงานอุตสาหกรรมตัดสินใจเข้ามาลงทุนใน
นิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดขอนแก่นได้ และในด้านการพัฒนาสนามบิน
ให้เป็นสนามบินนานาชาติ
มีความจำเป็นสำหรับรองรับการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจ
ถ้าเมืองเจริญเติบโตขึ้นสิ่งที่จะตาม มาแน่นอน คือระบบขนส่งมวลชนในจังหวัด
และเราจะมีระบบรถบัส BRT
ตนเห็นว่าเป็นการเริ่มต้นระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดที่ถูกต้อง
โดยจะต้องปรับขยายระบบ ดังกล่าวให้เป็นรถไฟฟ้าในอนาคต”
ยกระดับเป็น Logistic Hub
ประธาน
รัฐสภา กล่าวต่อว่า จังหวัด ขอนแก่นมีศักยภาพเด่นทำเลที่ตั้งเป็นศูนย์
กลางคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางอากาศ
การขนส่งผ่านระบบรางและการขนถ่ายสินค้าในภูมิภาคอาเซียน จึงมีศักยภาพสูง
ที่จะพัฒนาให้เป็น Logistic Hub ในประชาคมอาเซียนในอนาคตต่อไป
แต่ในเวลาอันใกล้นี้ มีความจำเป็นที่จะต้องขยับ
ขยายถนนหนทางโดยเพิ่มการเชื่อมต่อในโครงการที่จะมีการยกระดับ ด้วยการระบาย
รถออกไปสู่ถนนมิตรภาพ จะช่วยลดความ แออัดของการคมนาคมในตัวเมืองได้ดี
ที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือปัญหาน้ำท่วมที่จำเป็น
ต้องมีการบูรณาการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ดังนั้น โครงการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะ
การที่น้ำท่วมครั้งหนึ่ง ทำความเสียหายให้ กับทุกภาคส่วน ทั้งภาคเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม
ที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในการตัดสินใจมาลงทุน ของนักธุรกิจต่างๆ
ที่ต้องการย้ายฐานการ
ผลิตจากภาคกลางที่มีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติสูงมาสู่ภาคอีสานที่มีความ
เสียหายน้อยกว่า การป้องกันน้ำท่วมจึงถือเป็น
พันธกิจเร่งด่วนอย่างหนึ่งที่พวกเราจะต้องเร่งผลักดันให้สัมฤทธิผลให้ได้โดย
เร็ว
อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ (ก.พ.) จะมี การประชุม ครม.สัญจร
ขึ้นที่จังหวัดอุดร ธานี ทราบว่า
ทางจังหวัดขอนแก่นโดยคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อ
แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) และสภา พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ได้เตรียมที่จะยื่นของบประมาณโครงการต่างๆ กับโครงการที่จะยื่นต่อ
ครม.สัญจร ที่ได้ยื่นผ่านมาที่ตนและ ส.ส., ส.ว. ขอนแก่นทุกท่าน
ตนจะรับไปพิจารณาในรายละเอียด และจะช่วยผลักดันโครงการ ต่างๆ
ของจังหวัดขอนแก่นให้กับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องต่อไป
จัดระเบียบจราจรแก้รถติด
นาย
สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดขอนแก่น รอง
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า
ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตรง กลางของเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ
และตั้งอยู่ตรงกลางของภูมิภาคกลุ่มประเทศประชาคมอาเซียน นอกจากนี้
ขอนแก่นยัง เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา ศูนย์กลางทางการแพทย์
ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง
ซึ่งทำให้ขอนแก่นมีศักยภาพที่จะเป็นเมืองมหานครได้ไม่ยาก
โดยขณะนี้ขอนแก่นมีโครงการที่จะจัดระเบียบกับการ จราจรที่ติดขัด
โดยจะทำทางยกระดับบริเวณถนนหลังศูนย์ราชการไปยังถนนมิตรภาพเพื่อแก้ไขปัญหา
การจราจรที่ติดขัด
นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่จะทำโครงการ รถบีอาร์ที
สายบ้านสำราญมหา วิทยาลัยขอนแก่น-ท่าพระ
เพื่อรองรับจำนวนคนที่ย้ายเข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งขณะนี้โครงการดังกล่าวได้ทำการศึกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เหลือเพียงการดำเนิน การก่อสร้างเท่านั้น
ส่วนที่ขอนแก่นจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมคือ การทำสนามบินนานาชาติ
และการทำท่าเรือบก เพื่อรองรับ ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า
ซึ่งหากตรงนี้สำเร็จ จะทำให้ลดต้นทุนในการขนส่ง ได้มาก
ส่วนด้านปัญหาน้ำท่วม ทางจังหวัด และเทศบาลมีแผนรองรับเรียบร้อยแล้ว
การทำงานในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันทุก ภาคส่วน
ซึ่งแสดงถึงการรวมพลังและความสามัคคีกันในการทำงาน
ขึ้นชั้นศูนย์กลางการแพทย์
นาย
ธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ ประธาน หอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า
การก้าวสู่เมืองมหานครและยุทธศาสตร์ต่างๆ
ที่เราร่วมกันทำได้เชื่อมโยงกันหมด จังหวัด
ขอนแก่นได้ประกาศเป็นศูนย์กลางทางการ แพทย์ที่เป็นเลิศของประเทศอนุภูมิภาค
ลุ่มแม่น้ำโขง ขอนแก่นประกาศเป็นศูนย์
กลางทางด้านการคมนาคมและขนส่งลอจิสติกส์ฮับ
ซึ่งจังหวัดขอนแก่นได้เตรียมการยุทธศาสตร์ต่างๆ เหล่านี้เอาไว้มาก มาย
และทุกอย่างจะต้องเดินเคียงคู่และควบคู่กันไปถึงจะก้าวสู่ความเป็นเมืองมหา
นครได้
ขณะเดียวกันยุทธศาสตร์การขนส่ง ลอจิสติกส์ จังหวัดขอนแก่น (Bus
System International Airport Rail Road Distribution Center
Sustainability) หรือ ตัวย่อคือ BIRDs นั้น เป็นยุทธศาสตร์หนึ่ง
ที่คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น จะผลักดันให้จังหวัดขอนแก่น เป็นศูนย์
กลางด้านการขนส่งการคมนาคมของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นการเตรียม
ความพร้อมรองรับการเปิดประตูสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
เนื่องจากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดขอนแก่นนั้น
ตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่สำคัญคือ
อยู่บนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East West-Economic Corridor)
ที่จะ มีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเกิดขึ้นบนระเบียงเศรษฐกิจแห่งนี้
“ปัจจุบัน
สภาพเศรษฐกิจของจังหวัด ขอนแก่นได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก โดย
GDP ของจังหวัดเพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง และเป็นอันดับ 2 รองจากจังหวัด
นครราชสีมา
และมีนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจที่จะลงทุนในจังหวัดขอนแก่นมี
จำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนนับพันล้านบาท นอกจากนี้
นับตั้งแต่ไทยกับ สปป.ลาว
ขยายเส้นทางการสัญจรของประชาชนทั้งสองประเทศมาถึงจังหวัดขอนแก่น เพื่อ
ส่งเสริมการท่องเที่ยว ในขณะนี้ มีประชาชน สปป.ลาว เดินทางมาจับจ่ายใช้สอย
และพักแรมในจังหวัดขอนแก่นเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
รวมทั้งจังหวัดขอนแก่นสามารถเดินทาง ไปยังจังหวัดต่างๆ ได้รอบทิศ และสามารถ
เป็นจุดเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าและบริการ
ไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อีกด้วย”
สู่ฝันขอนแก่นเมืองมหานคร
ประธาน
หอการค้าจังหวัดขอนแก่น กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่า จังหวัดขอนแก่น
เป็นจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ขนส่งและบริการอย่างแท้จริง
คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น จึงได้จัดทำ
แผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องขึ้นมารองรับ ยุทธศาสตร์การขนส่งลอจิสติกส์ อาทิ
โครงการก่อสร้างระบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) พร้อมทั้งได้จัดเสวนาในหัวข้อ
“ขอนแก่นมุ่งสู่...เมืองมหานคร”
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับทราบทั่วกัน และจะ
ได้ร่วมกันผลักดันแผนงาน/โครงการที่คณะกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่นทุกคน
ได้ร่วมกันสละแรงกาย กำลังความคิด
เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดขอนแก่นให้ก้าวย่างไปสู่เมืองมหานคร
ในอนาคต ให้สมกับคำขวัญขององค์กรหอการค้าที่ว่า “ส่งเสริมการค้า
พัฒนาเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าชีวิต คือภารกิจหอการค้า”
อย่างไรก็ตาม
ภายหลังเสร็จสิ้นการเสวนาคณะกรรมการหอการค้าจังหวัด ขอนแก่น
จะทำพิธีมอบหนังสือเปิดผนึก ต่อประธานรัฐสภา ในฐานะสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น เพื่อขอการ
สนับสนุนผลักดันแผนงาน/โครงการที่ได้จัดทำขึ้น เสนอผ่านทางประธานรัฐสภาไป
ยังรัฐบาลพิจารณาสนับสนุนต่อไป
ที่มา http://www.siamturakij.com/home/news/display_news.php?news_id=413357880
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น